Thursday, 13 September 2018

ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น


ความเป็นมาของวัฒนธรรมไทย
ชาติไทยเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมอันดีงามแต่โบราณ โดยมีที่มาดังนี้
1. วัฒนธรรมไทยที่เรามีการปฏิบัติกันอยู่ ส่วนหนึ่งเป็นของคนรุ่นก่อนๆ หรือบรรพบุรุษของเราได้ถ่ายทอด
มายัง อนุชนรุ่นหลัง
2. จากการที่เราได้ติดต่อกับชาติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ชนชาติที่มีอธิพลต่อวัฒนธรรมไทย คือมอญ
ขอมอินเดีย จีน และชาติตะวันตก สำหรับมอญ และขอม ชาตินี้รับอธิพลมาจากอินเดีย สิ่งใดมีประโยชน์
์ก็นำมาดัดแปลง เป็นวัฒนธรรมไทย
ลักษณะของวัฒนธรรม         วัฒนธรรมไทยได้รับการพัฒนามาโดยลำดับ อันเนื่องมาจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมทางสังคม และสิ่ง
แวดล้อมทางธรรมชาติ และความสามารถของสังคมไทย จึงก่อให้เกิดการสร้างสรรค์หล่อรวมกันเป็นวัฒนธรรม
ซึ่งลักษณะเฉพาะเป็นวัฒนธรรมที่มีลักษณะเด่นๆ หลายอย่างดังนี้
          1. การมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ  สังคมไทยรับเอาพระพุทธศาสนาเป็นที่นับถือ
ของชาวไทย มาตั้งแต่ก่อนสุโขทัย คนไทยส่วนใหญ่ นับถือพระพุทธศาสนาถึง 95 % หลักคำสั่งสอนสำคัญ
ของพุทธศาสนาที่ สำคัญคือ สอนให้ละเว้นความชั่ว ทำความดี ทำจิตใจให้บริสุทธิ์วิถีชีวิตของคนไทยจะมี
พุทธศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง เสมอ เช่น การบวช การแต่งงาน การทำบุญขึ้นบ้านใหม่
วิถีชีวิตคนไทยที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา
         2. การมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข สังคมไทยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขสืบทอดกันมาแต่โบราณ
จนถึงปัจจุบัน จะเห็นได้จากการถวายความจงรักภักดีในวาระต่างๆ แสดงถึงความยึดมั่นในพระองค์ ซึ่งช่วยเสริม
สร้างให้สถาบันพระมหากษัตริย์มีความสำคัญต่อสังคมเป็นอย่างยิ่ง
        3. อักษรไทยและภาษาไทย  สังคมไทยมีอักษรใช้มา นานตั้งแต่สมัยสุโขทัยโดยได้รับอิทธิพลจากขอม และได้รับการพัฒนาโดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชัดเป็นเอกลักษณ์ที่น่าภูมิใจเพราะ ภาษาถือว่าเป็นอารยธรรม
ขั้นสูง
ศิลาจาลึก : อารยธรรมชั้นสูง
        4. ประเพณีไทย เป็นสิ่งแสดงถึงวิถีชีวิตของคนไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน ซึ่งส่วนมากเกี่ยวข้องกับ
พระพุทธ ศาสนา อาจมีคติลัทธิศาสนาอื่นผสมอยู่ด้วย ซึ่งสืบเนื่องมาแต่โบราณ ประเพณีที่นำมาปฎิบัติกันเช่น
ประเพณีการบวช ประเพณีการแต่งงาน
ประเพณีไทย
        5.  วัฒนธรรมที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต อันได้แก่ปัจจัยสี่ คือเครื่องนุ่งห่มที่อยู่อาศัย อาหาร
ยารักษาโรค
5.1 เครื่องนุ่งห่มและการแต่งกายของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย มีการรับวัฒนธรรมการแต่งกาย
ชาวตะวันตกมาใช้มากขึ้น ตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ส่วนการแต่กายของผู้ชายมักง่ายๆ ทั้งในอดีตและ
ปัจจุบัน ส่วนผู้หญิงจะเป็นไปตามสมัยนิยม
การแต่งกายที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย
5.2 ที่อยู่อาศัยเรือนไทยเหมาะกับสภาพธรรมชาติของสังคม มีลักษณะใต้ถุนสูงไม่มีห้องมากนักรับลมเย็น
ได้ทุกเวลา ป้องกันแดดฝนได้ดี ปัจจุบันมีคนนิยมปลูกเรือนไทยน้อยเพราะราคาสูง จึงสนใจบ้านแบบตะวันตก
มากกว่า
บ้านทรงไทย
บ้านแบบตะวันตก
5.3  อาหารไทยสมัยก่อนมีลักษณะต่าง ๆ เช่นน้ำพริก ปลาร้า ปลาส้ม แกงเลียง รัปทาน มื้อ ปัจจุบัน
คนไทย มักแสวงหาอาหารแปลกๆ  ชอบนำอาหารต่างชาติมาปรุงรับประทาน
อาหารไทย
อาหารแบบตะวันตก
5.4 คน ไทยยังนิยมการรักษาโรคภัยไข้เจ็บตามโบราณ ถ้าไม่ใช้ยาแผนโบราณก็จะไปซื้อยาที่ร้านค้า
ตามคำ แนะนำของคนใช้ยา ทำให้สุขภาพพลานามัยไม่ค่อยดี ปัจจุบันคนไทยนิยมรักษาโรคภัยไข้เจ็บ
ตามสถาน พยาบาลมากขึ้น
        6. ศิลปกรรมไทย เป็นวัฒนธรรมที่เกิดจากการเพียรพยายามของมนุษย์ ในการปรุงแต่งชีวิตความเป็นอยู่
ให้ดีขึ้น ทำสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยสวยงาม รวมทั้งเป็นอาหารใจด้วยวัฒนธรรมในด้านศิลปกรรมมีดังนี้
 วรรณกรรม เป็นศิลปะการที่แสดงออกในรูปของตัวหนังสือ การแต่งความเป็นเรื่องราว ทำให้ผู้อ่านเกิด
ความรู้สึกทางอารมณ์แต่ก็แฝงไว้ด้วยคติเตือนใจ
วรรณกรรมไทย
  ดนตรี เป็นศิลปเกี่ยวกับการบรรเลงให้เกิดเสียงไพเราะ สิ่งที่ใช้บรรเลง ดีด สี ตี เป่า อาจแยกเป็น วงปี่พาทย์
วงเครื่องสาย มโหรี ส่วนดนตรีสากลเริ่มเข้ามามีอธิพลสมัยรัชกาลที่ การบรรเลงแตรวงเริ่มสมัยรัชกาลที่ 4
ดนตรีสากลที่เห็นชัดในปัจจุบัน เช่น แตรวง และโยธวาทิตเป็นต้น
จิตกรรม เป็นศิลปะที่เกี่ยวกับการวาดเขียน ระบายสี ให้เกิดเป็นภาพ หรือลวดลายจิตกรรมไทยนิยม
ไม่มีแรเงา เป็นภาพแบน ๆ ศิลปะคล้าย ๆ ของอินเดีย ลังกา ดังจะพบได้จากผนังโบสถ์ มักเป็นเรื่องราวเกี่ยว
กับพระพุทธศาสนา
ภาพจิตรตกรรม
 ประติมากรรม เป็นงานสร้างสรรค์เกี่ยวกับการปั้น แกะสลัก หล่อ ทุบ ตี เคาะให้เกิด รูปร่าง ได้แก่
พระพุทธรูป ปติมากรรมเพื่อการตกแต่ง ได้แก่ช่อฟ้า บัวปลายเสา
     ประติมากรรม
สถาปัตยกรรม เป็นศิลปะการออกแบบก่อสร้าง เช่น ปราสาทราชวัง วัด โบสถ์ วิหาร
สถาปัตยกรรม
7. จรรยามารยาทและจิตใจของคนไทย คนไทยมีลักษณะสุภาพอ่อนน้อม ปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดี
มีการแสดงความเคารพแตกต่างไปจากสังคมอื่น ๆ เช่นการยิ้ม การทักทาย การไหว้การถวายความเคารพ
พระมหากษัตริย์
ด้านจิตใจ คนไทยได้รับอธิพลจากพระพุทธศาสนา ทำให้คนไทยมีความเอื้อเฟื้อเพื่อแผ่ มีความ
โอมอ้อมอารีต่อคนทั่วไป เคารพผู้อาวุโส
        เนื้อหาของวัฒนธรรมในปี พ.ศ. 2522 รัฐบาลได้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติขึ้นและได้แบ่งเนื้อหาของ
วัฒนธรรมไทยออกเป็น สาขา คือ
1. สาขาศิลปกรรม (The Arts) ได้แก่ภาษา วรรณกรรม การละคร นาฎศิลป์ ดนตรี จิตรกรรม
สถาปัตยกรรม ประติมากรรม และศิลปการแสดงอื่น ๆ
  2. สาขามนุษย์ศาสตร์ (Humanities) ได้แก่ คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม ขนบธรรมเนียม ประเพณี
กฎหมาย การปกครอง ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ปรัชญา ศาสนา เป็นต้น
3. สาขาการช่างฝีมือ (Practical Craft) ได้แก่ การเย็บปักถักร้อย การแกะสลัก การทอ การจักสาน 
การทำเครื่องถม เครื่องเงิน เครื่องทอง 
4. สาขากีฬานันทนาการ (Sports and Receration) 
ได้แก่ มวยไทย กระบี่ กระบอง ตระกร้อ
การละเล่นพื้นเมือง เป็นต้น
       ความสำคัญของวัฒนธรรม วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มีอธิพลต่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศ เป็นวิถีชีวิตและเครื่องยึดเหนี่ยวให้คนไทย
มีความสมานฉันท์ วัฒนธรรมไทยจึงมีความสำคัญต่อสังคมไทยดังนี้
1. เป็นเอกลักษณ์ของชาติ
2. สร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับประเทศ
3. ส่งเสริมความรักความสามัคคีความเป็นหนึ่งเดียวกัน
4. เป็นความภาคภูมิใจ
5. เป็นวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทย
6. เป็นการสนองตอบความต้องการในด้านต่าง ๆ
อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติที่มีต่อสังคมไทย
วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ไม่มั่นคงที่หรือใช้เฉพาะในสังคมหนึ่งเท่านั้น ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
และการขนส่งคมนาคม ทำให้การเผยแพร่วัฒนธรรมกระทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้นกระบวนการนี้เรียกว่า การเผยแพร่
วัฒนธรรมกระทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้นกระบวนการนี้เรียกว่า การเผยแพร่หรือการกระจายทางวัฒนธรรม
(Cultural Diffusion)
หลังการปฎิบัติอุตสาหกรรมในยุโรป ทำให้ชนชาติเหล่านั้นแข่งขันกันแสวงหาอาณานิคมในทวีปเอเชีย
ด้วยแล้ว สังคมไทยก็ตกเป็นเป้าหมายของกลุ่มชาวยุโรป โดยเฉพาะอังกฤษ ฝรั่งเศษ และอธิพลของวัฒนธรรม ตะวันตกก็ยังคงต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยสาเหตุต่อไปนี้
1. ความเจริญทางด้านการคมนาคมขนส่ง ทำให้การเดิน ทางสะดวการเผยแพร่วัฒนธรรมจะเร็วขึ้น
การเจริญทางด้านการคมนาคมขนส่ง
2. อิทธิพลจากสื่อมวลชนต่าง ๆ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ หนังสือ และสิ่งพิมพ์อื่น ๆ
3. การเผยแพร่วัฒนธรรมโดยตรง คือ ประเทศต่าง ๆ ส่งคนเข้ามาเผยแพร่ หรือจากการออกไปศึกษา
เล่าเรียน เมื่อกลับมาแล้วก็นำวัฒนธรรมนั้นมาเผยแพร่
อิทธิพลจากสื่อมวลชนต่าง ๆ
อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติในสังคม แยกเป็นด้านต่าง ๆ นี้
1. ทางการศึกษา วัฒนธรรมขอมอินเดีย เข้ามามีอธิพลในสมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา
ภาษาตะวันตก เริ่มเข้าสมัยรัชกาลที่ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อร้อยเอกเจมส์ โลว์ ชาวอังกฤษ
คิดตัวพิมพ์ภาษาไทยได้สำเร็จ
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการปฎิรูปการศึกษาและสังคมมีการตั้ง
กระทรวงธรรมการ เริ่มมีการจัดการศึกษาแบบตะวันตกตั้งแต่นั้นมา
ปัจจุบันระบบการศึกษาของไทยยึดหลักแนวทางจากประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งทางด้านปรัชญา
การศึกษา เนื้อหา และกระบวนการเรียนการสอน ส่วนวิทยาการสมัยใหม่ ในวงการศึกษาของไทยรับมาจาก
ตะวันตกเป็นส่วนใหญ่
2. ทางการเมือง
สมัยสุโขทัยการปกครองเป็นแบบพ่อปกครองลูก
สมัยกรุงศรีอยุธยา รับอธิพลจากขอมและอินเดีย เป็นแบบลัทธิเทวราช กษัตริย์ เป็นสมมติเทพ
(ข้ากับเจ้า บ่าวกับนาย)
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ เริ่มมีสภาที่ปรึกษา นับเป็นการเริ่มเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2575 จึงเป็นประชาธิปไตยโดยแท้จริง ซึ่งได้รับอธิพลจากประเทศในยุโรป
3. ทางเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจเป็นแบบเสรีนิยม หรือทุนนิยม ได้รับอธิพลจากตะวันตกมาที่สุด
4. ทางสังคมและวัฒนธรรม อิทธิพลจากต่างชาติทำให้วิถีชีวิตคนไทยเปลี่ยนแปลงไป ความเอื้อเฟื้อ
เผื่อแผ่ เห็นอกเห็นใจมีความอบอุ่นน้อยลง มีการชิงดีชิงเด่น ความสัมพันธ์เปลี่ยนเป็นแบบทุติยภูมิ
วัฒนธรรมอินเดียที่มีอธิพลต่อวัฒนธรรมไทย
โกนจุก
พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
ไหว้พระภูมิ
1. การเมืองการปกครอง กษัตริย์เป็นเทวราชตามศาสนาพราหมณ์เกิดระบบเจ้าขุนมูลนายส่วนประมวล
กฎหมายพระมนูธรรมศาสตร์ของอินเดียนั้นเป็นที่มาของกฎหมายตราสามดวงในประเทศไทยและกฎมณเฑียรบาล
2. ศาสนา ศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนาทำให้เกิดประเพณีต่าง ๆ มากมาย เช่น
พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ โกนจุก หลักทศพิธราชธรรม
3. ภาษาและวรรณกรรม รับภาษาบาลีและสันสกฤต เพื่อให้เกิดความเจริญงอกงามทางภาษา แต่ไม่ใช่
คำพูด ไม่มีอธิพลเหมือนภาษาตะวันตก วรรณกรรมคือมหากาพย์รามายณะมหาภารตยุทธ และพระไตรปิฎก
   4. ศิลปกรรม ส่วนใหญ่เกี่ยวกับศาสนา ได้แก่ การสร้างสถูป เจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป จิตรกรรมฝาผนัง
ท่าร่ายร่ำต่าง ๆ
 วัฒนธรรมจีนที่มีอธิพลต่อวัฒนธรรมไทย
จีนเข้ามาสมัยกรุงสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยาโดยเข้ามาค้าขาย ในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์
เข้ามาทำมาหากิน ทำให้เกิดการผสมผสานวัฒนธรรมไทยกับจีนจนกลายเป็นวัฒนธรรมไทยอิทธิพลวัฒนธรรมจีน
ต่อวัฒนธรรมไทยได้แก่
1. ความเชื่อทางศาสนา เป็นการผสมผสาน การบูชาบรรพบุรุษ การนับถือเจ้า ส่วนการไหว้พระจันทร์ เทศกาลกินเจ ชาวไทยเชื้อสายจีนรุ่นใหม่ยอมรับวัฒนธรรมเดิมของจีนน้อยลงทุกที
2. ด้านศิลปกรรม เครื่องชามสังคโลกเข้ามาในสมัยสุโขทัย
3. ด้านวรรณกรรม การแปลวรรณกรรมจีนเป็นภาษาไทยเริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ได้แก่ สามก๊ก อำนวยการแปลโดย เจ้าพระยาคลัง (หน) กลายเป็นเพชรน้ำงามแห่งวรรณคดีไทย
 4. วัฒนธรรมอื่น ๆ มีอาหารจีน และ ขนมจันอับ” ที่กลายเป็นขนมที่มีบทบาทในวัฒนธรรมไทยใช้ในพิธี
ก๋วยเตี๋ยวก็กลายมาเป็นอาหารหลักของไทย นอกจากนี้ยังมีข้าวต้มกุ๊ย ผัดซีอิ๊ว และซาลาเปา เป็นต้น
 วัฒนธรรมชาตินิยมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทย
โปรตุเกส เป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ นำวัฒนธรรมการทำปืนไฟ
การสร้างป้อมต่อต้านปืนไฟ ยุทธวิธีทางการทหาร การทำขี้ผึ้งรักษาแผล การทำขนมฝอยทอง ขนมฝรั่ง
เป็นอาหารอาสาสมัยพระชัยราชาธิราช รบกับพม่า 120 คน
ฮอลันดา เข้ามาในราชสำนักสมัยพระเอก เข้ามาสมัยในสมัยพระนเรศวรมหาราช อาคารที่ฮอลัดดาสร้าง ไทยเรียกว่า ตึกวิลันดา” นำอาวุธปืนมาขาย รวมทั้งเครื่องแก้ว กล้องยาสูบ เครื่องเพชรเครื่องพลอย ในสมัย
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ทรงพอพระทัยแว่นตา และกล้องส่องทางไกลจากฮอลันดา
 อังกฤษ เข้ามาในราชสำนักสมัยพระเอกาทศรถ มุ่งทางด้านการค้า แต่สู้ฮอลันดาไม่ได้ เช่น ยอร์ช ไวท์
มีตำแหน่งเป็นออกหลวงวิชิตสาคร ส่วน แซมมวล ไวท์ ได้เป็นนายท่าเมืองมะริด
ฝรั่งเศส เข้ามาสมัยพระนารายณ์มหาราช เพื่อเผยแผ่ศาสนาคริสต์ คณะบาทหลวงได้นำความรู้ด้าน
การแพทย์ การศึกษา การทหาร ดาราศาสตร์ การวางท่อประปา การสร้างหอดูดาวที่ลพบุรีและอื่น ๆ อีกหลายแห่ง
ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกลดลง และหยุดชะงักไป
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปรับปรุงประเทศตามแบบตะวันตกโดยมีการเปิด
สัมพันธ์ทางการทูต เพราะตระหนักถึงภยันตรายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นการป้องกันการแทรกแซงภายใน
วัฒนธรรมตะวันตกจึงเริ่มผสมผสานจนเป็นที่ยอมรับและเข้ามามีบทบาทในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. การเมืองการปกครอง รับเอาประเพณี ค่านิยม วัฒนธรรม เข้ามาในประเทศ เพราะมีพระบรมวงศ์ศานุวงศ์
ไปเรียนต่างประเทศ มีการปฎิรูปการปกครองแบบชาติตะวันตก ตั้งกระทรวง 12 กระทรวง
2. เศรษฐกิจ ยกเลิกระบบไพร่ เลิกทาส ใช้เงินตราเป็นตัวกลางในการซื้อขาย ตั้งธนาคารแห่งแรก คือ
บุคคลัภย์ (Book Club) ต่อมาคือธนาคารไทยพาณิชย์
3. ด้านสังคม เลิกระบบหมอบคลาน มาเป็นแสดงความเคารพ ให้นั่งเก้าอี้แทนเปลี่ยนแปลงการแต่งกาย
จัดการศึกษาเป็นระบบโรงเรียน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ได้ออกพระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2464
การศึกษาขยายถึงระดับมหาวิทยาลัย มีพระราชบัญญัตินามสกุล และคำนำหน้าชื่อ นาย นาง นางสาว เด็กหญิง
เด็กชาย
สรุปได้ว่า คนไทยมีวัฒนธรรมที่เป็นของตนเองมาตั้งแต่สุโขทัย ซึ่งแสดงออกถึงความเป็นชาติที่มีความรัก ความสามัคคีและสงบสุข อย่างไรก็ตาม วัฒนธรรมไทยก็เหมือนวัฒนธรรมของชนชาติอื่นที่เป็นวัฒนธรรม
แบบผสมผสาน คือ
1. มีวัฒนธรรมดังเดิมเป็นของตนเอง
2. รับเอาวัฒนธรรมอื่นจากภายนอกที่ได้ติดต่อสัมพันธ์กัน มาผสมผสานให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม
เอกลักษณ์ของวัฒนธรรม
เอกลักษณ์เป็นลักษณะเด่นของสังคมที่เห็นได้ชัด ซึ่งแตกต่างไปจากสังคมอื่น เพราะเกิดจากการสั่งสม
ของวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีมาเป็นเวลาช้านาน เอกลักษณ์ไทยจึงเป็นเอกลักษณ์แห่งความภาคภูมิใจ
ของชนชาวไทยทุกคนในการมีชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ภาษา ศิลปกรรม อาหาร การแต่งกาย เป็นของ
ตนเอง คนไทยทุกคนจึงต้องช่วยกันอนุรักษ์ ส่งเสริมและพัฒนาเอกลักษณ์ไทยให้อยู่คู่กับสังคมไทยตลอดไป
       ความหมายของเอกลักษณ์ไทย เอกลักษณ์คือ ลักษณะที่เด่นชัดของสังคมใดสังคมหนึ่ง ซึ่งลักษณะเหมือนกัน หรือร่วมกันของสังคมนั้น ๆ
ที่เห็นได้ชัดเจนว่าแตกต่างจากลักษณะของสังคมอื่น
เอกลักษณ์ไทยจึงหมายถึง ลักษณะของความเป็นไทยที่ดูแล้วแตกต่างจากลักษณะสังคมของชนชาติอื่น
มีความแตกต่าง ซึ่งอาจมองได้จากรูปลักษณะ การประพฤติปฎิบัติ กิริยาท่าทาง การแต่งกาย วัฒนธรรม
จารีตประเพณี ฯลฯ สังเกตได้ว่าลักษณะเด่นของความเป็นไทยนั้นไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ก็สามารถแยกออกจาก
ชนชาติอื่นได้ นอกจากภาษาพูดแล้ว ความยิ้มแย้มแจ่มใสก็เป็นลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของสังคมไทย จนชาว
ตะวันตกขนานนามว่า สยามเมืองยิ้ม
      เอกลักษณ์เด่นของวัฒนธรรมไทยพอสรุปได้ดังนี้
จุดเด่นของวัฒนธรรมไทย
เป็นวัฒนธรรมที่มีพื้นฐานมาจากเกษตรกรรมเป็น วัฒนธรรมเกษตร” เช่น มีการช่วยเหลือกัน เรียกว่า
การลงแขกเกี่ยวข้าว การแห่นางแมวเพื่อขอฝน การทำขวัญข้าว ไหว้แม่โพสพ
เป็นสังคมที่มีความสนุกสนาน การทำงานจะเป็นไปพร้อมกับความรื่นเริง เช่น เมื่อเกี่ยวข้าวจะร้องเพลง
ไปด้วย เกี่ยวเถอะนะแม่เกี่ยวชะชะเกี่ยวเถอะนะแม่เกี่ยว อย่ามัวแลเหลียว เดี๋ยวเคียวจะเกี่ยวก้อยเอย
เป็นสังคมที่เทิดทูลพระมหากษัตริย์ด้วยความจงรักภักดี
นับถือพระพุทธศาสนา เป็นสังคมชาวพุทธ มีพุทธศานิกชนให้ความสำคัญ
มีน้ำใจของความเป็นไทย พึ่งพาอาศัยกัน รักความสงบ
ชอบเรื่องการทำบุญ สร้างกุศล และช่วยงานบุญกกกกกุศล
       เอกลักลักษณ์ของวัฒนธรรมไทย
ผีตาโขน
บุญบั้งไฟ
แห่ปราสาทผึ้ง
แห่นางแมว

ประเพณีไทย
ภาษาไทย ตัวอักษรไทย ซึ่งนับว่าเป็นอารยธรรมขั้นสูง
อาหารไทย เช่นน้ำพริกปลาทู หรือต้มยำกุ้ง ที่เป็นที่รู้จักและโด่งดังไปทั่วโลก
สมุนไพรไทย แม้แต่ต่างชาติก็ให้ความสนใจ เช่น ว่านหางจระเข้ กระชายดำ กราวเครือ
ฉายาสยามเมืองยิ้ม ซึ่งแสดงถึงความยิ้มแย้มแจ่มใส มีอัธยาศัย ซึ่งหายากในชนชาติอื่น
มารยาทไทย เช่นการไหว้ เป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก การมีสัมมาคารวะ เคารพผู้อาวุโส รู้จักกาลเทศะ
ประเพณีไทย เช่น ผีตาโขน บุญบั้งไฟ การแห่ปราสาทผึ้ง แห่นางแมว
การแสดงแบบไทย เช่นลิเก โขน รำวง
ดนตรีไทย เช่นระนาด ปี่ ขลุ่ย อังกะลุง
การละเล่นไทย เช่น มอญซ่อนผ้า ลำตัด
สิ่งก่อสร้างเช่นเรือไทย
เพลงไทย เช่นเพลงไทย(เพลงไทยเดิม) เพลงลูกทุ่ง
เอกลักษณ์ที่สำคัญของสังคมไทย
เอกลักษณ์ของสังคมไทย เป็นสิ่งที่แสดงถึงความเป็นไทยที่บรรพบุรุษได้สั่งสม สืบทอดโดยมอบเป็น
มรดกให้แก่อนุชนรุ่นหลังไว้ได้เป็นความภาคภูมิใจในความเป็นชาติ ซึ่งเอกลักษณ์นี้ นับว่าเป็นสิ่งที่ดี คนไทย
ควรนำมาปฏิบัติและสืบสานต่อไป
เอกลักษณ์ที่ดีและควรสืบสานในสังคมไทย
  1. เป็นสังคมที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข สถาบันพระมหากษัตริย์นับว่าเป็นศูนย์รวมจิตใจ
ของคนไทยทั้งชาติ กษัตริย์ไทยโบราณ จนถึงปัจจุบันทรงเป็น ผู้นำประเทศให้พ้นภัย ทำนุบำรุง ประเทศชาติ
ให้รุงเรือง
   2. สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม ซึ่งเป็นอาชีพ หลักมาแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทำให้คนไทยมีความผูกพันกับธรรมชาติ มีความอดทน การร่วมมือร่วมใจ รู้จักบุญคุณของธรรมชาติและบุญคุณของแผ่นดิน
3. ครอบครัว เป็นเอกลักษณ์ของสังคมที่มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้น มีความผูกพันเคารพในระบบอาวุโส
ทำให้คนไทยมีความอ่อนน้อมถ่อมตน รู้จักาลเทศะ
4. ศาสนา สังคมไทยมีศาสนาพุทธเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจมาแต่อดีต และเป็นศาสนาที่คนไทย
นับถือ กันมากที่สุด หลักธรรมคำสั่งสอนของพุทธศาสนา สอนให้คนไทยยึดถือทางสายกลาง เชื่อในเรื่องบาป
บุญ คุณโทษ หลักคำสอนของพระพุทธศาสนามีความเป็นวิทยาศาสตร์ แม้แต่ชาวต่างชาติก็หันมานับถือ
และบวชในพระพุทธศาสนากันมาก
5. ภาษา เริ่มกันมาแต่สมัยสุโขทัย โดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทำให้คนไทยมีภาษาไทยใช้
เป็นเอกลักษณ์คนไทยจึงควรพูดและเขียนภาษาไทยให้ถูกต้อง เพื่อสืบทอดให้ลูกหลานต่อไป
 6. รักอิสระ หรืออาจใช้คำว่า ความเป็นไท ไม่ขึ้นกับใคร แสดงความเป็นเอกราช ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ
ทีควรดำรงไว้
 7. ศิลปกรรม คือ ผลงานที่ช่างฝีมือไทยหรือศิลปินไทยได้สร้างสมไว้จากความรู้สึกนึกคิดหรือจินตนาการ
แบ่งออกเป็น ประเภทดังนี้
  7.1 จิตรกรรม (Painting)
จิตกรรมไทย หมายถึง ภาพที่แสดงถึงเรื่องราว ตลอดไปถึงการเขียนภาพลวดลายประดับตกแต่ง
ในงานช่างต่าง ๆ ซึ่งเป็นศิลปกรรมชั้นสูง และเพื่อให้เกิดความสวยงามในศิลปะตามคติของชาติ
7.2 ประติมากรรมไทย (Sculpture)
งานประติมากรรมไทย 
หมายถึง งานปั้น และงานแกะสลัก ที่ต้องนำมาทำการหล่ออีกทีหนึ่ง
ซึ่งเป็นงานฝีมือ โดยมากมักจะเป็นการปั้นเกี่ยวกับพระพุทธรูป มีตั้งแต่ขนาดเล็กจนไปถึงขนาดใหญ่ เครื่องใช้
และเครื่องประดับต่าง ๆ
  7.3 สถาบัตยกรรม คือ อาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เช่น อาคาร ตึก บ้านเรือน พระมหาราชวัง
ตลอดจนอนุสาวรีย์ใหญ่ ๆ พีรามิด สถูป เจดีย์ วิหาร ปราสาท พระปรางค์ มณฑป อุโบสถ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า
งานสถาปัตยกรรมมักควบคู่ไปกับงานประติมากรรม ซึ่งทำให้สิ่งก่อสร้างดูสวยงาม อ่อนช้อย
7.4 วรรณกรรม (Literature)
วรรณกรรม 
คือ  หนังสือทั้งประเภทร้อยกรอง(โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน) และร้อยแก้ว คือ
เรียงความธรรมดา รวมถึงการจดจำเรื่องราวต่าง ๆ เช่น นิทาน ตำนานด้วยวรรณกรรมที่เป็นอมตะ เช่น
พระอภัยมณี ขุนช้างขุนแผน
7.5 นาฎศิลป์ และดุริยางคศิลป์ (Music and Dramatic)
นาฎศิลป์และดนตรี หรือคีตกรรม 
คือ ดนตรีทุกประเภท รวมทั้งการร่ายรำ ระบำต่าง ๆ   เช่น
โขน ลิเก ละครรำ รำไทย การแสดงต่าง ๆ เป็นต้น
การอนุรักษ์และการพัฒนาเอกลักษณ์ของสังคมไทย                  เอกลักษณ์ของไทยเป็นสิ่งที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์และสั่งสมมานานจนเป็นมรดกมาสู่อนุชนรุ่นหลัง
และเป็นส่วนหนึ่งของวิถีการดำเนินชีวิตของสังคมไทย คนไทยทุกคนจึงมีหน้าที่ร่วมกันที่ต้องช่วยกันอนุรักษ์
สืบสานเพื่อดำรงไว้ให้เป็นมรดกของชาติสืบไป
ดังนั้นองค์ประกอบของภาคเอกชน จึงควรร่วมมือกันโดยแบ่งเป็นระดับดังนี้
 1. ระดับชาติ องค์การของรัฐมีหน้าที่รับผิดชอบต่องานเอกลักษณ์ของชาติโดยตรงต้องกำหนดนโยบาย
ให้การสนับสนุน ส่งเสริมเอาจริงเอาจัง รวมทั้งสื่อมวลชนต้องเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้เห็นคุณค่าและความสำคัญ
ในเอกลักษณ์ของชาติ เพราะเป็นหน้าที่ของทุกคน
2. ระดับท้องถิ่น  องค์กรในท้องถิ่นต้องส่งเสริมประชาชนให้เห็นคุณค่าของเอกลักษณ์ไทย โดยช่วยกัน
คิดค้น เผยแพร่ นำภูมิปัญญาของท้องถิ่นออกมาใช้ให้เป็นประโยชน์ อีกทั้งยอย่องผู้ทรงภูมิปัญญา หรือปราชญ์
ท้องถิ่น เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี นอกจากนี้ยังเป็นการประชาสัมพันธ์ท้องถิ่นตนด้วย
 3. ระดับบุคคล บุคลากรทุกคน ไม่ว่าจะเป็นของหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน แม้แต่ผู้ที่ทำงานส่วนตัว
สมารถช่วยกันสอดส่องดูแลถาวรวัตถุ โบราณสถาน โบราณวัตถุ วัดวาอาราม ฯลฯ ซึ่งเป็นสมบัติของชาติ
ไม่ให้ถูกทำลาย เป็นหูเป็นตาให้เจ้าหน้าที่ รวมทังพฤติกรรมเป็นแบบอย่างที่ดี ใช้ของไทย ส่งเสริมของไทย และส่งเสริมชาวต่างชาติให้ใช้ของไทย ก็นับว่าได้ช่วยอนุรักษ์เอกลักษณ์ไทยแล้ว

ภูมิปัญญาไทยและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยาและธนบุรี

ภูมิปัญญาไทยสมัยอยุธยา
ภูมิปัญญาด้านการตั้งถิ่นฐาน
การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ตั้งแต่สมัยอดีตมีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางภูมิศาสตร์ กล่าวคือ ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้แหล่งอาหารและในที่ซึ่งมีความปลอดภัยสำหรับอยุธยาตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มดินดอน สามเหลี่ยมเจ้าพระยาตอนล่างสภาพโดยทั่วไปของพื้นที่อุดมสมบูรณ์ สามารถผลิตอาหารได้เพียงพอกับความต้องการ ของชุมชน ขณะเดียวกันที่ตั้งของอยุธยายังตั้งอยู่ในบริเวณที่แม่น้ำเจ้าพระยาลพบุรี
ป่าสักไหลมาบรรจบกัน ทำให้ปลอดภัยและสามารถใช้แม่น้ำลำคลองเหล่านี้เป็นเส้นทางคม นาคมติดต่อค้าขายและเข้าถึงแหล่งทรัพยากรที่มีอยู่มากมายในหัวเมืองอื่นๆทางหัวเมืองเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือตลอดจนอาณาจักรที่อยู่ลึกเข้าไปเช่นอาณาจักรล้านนา ล้านช้าง และพุกามได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ที่ตั้งของอยุธยาอยู่ห่างจากปากน้ำเจ้าพระยาประมาณ ๒๐๐  กิโลเมตรใช้เวลาประมาณ ๓ วัน  เพื่อล่องเรือจากราชธานีไปจนถึงปากน้ำ ดังนั้นเมื่อข้าศึกยกทัพมางทะเลจึงมีเวลาเตรียมพร้อมสำหรับการป้องกันเมืองการที่อยุธยาที่มีที่ตั้งซึ่งมีสภาพแวดล้อมเช่นนี้ทำให้อยุธยามีความปลอดภัยและมีอาหารอุดมสมบูรณ์อย่างไรก็ตามสภาพภูมิประเทศของอยุธยาซึ่งเป็นที่ราบลุ่มเมื่อถึงฤดน้ำหลาก จะมีน้ำท่วมขังกินเวลานานทำให้เป็นอุปสรรคต่อการตั้งถิ่นฐานแต่ชาวอยุธยาและผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างได้ใช้ภูมิปัญญาในการแก้ปัญหาโดยการ ปลูกเรือนใต้ถุนสูงพ้นน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม เมื่อนน้ำลดพื้นดินแห้งดีแล้วสามารถใช้ประโยชนจากบริเวณใต้ถุนเรือนซึ่งเป็นที่โล่งทำกิจกรรมภายในครัวเรือน เช่น จักสาน ทอผ้า เลี้ยงลูก หรือใช้สำหรับเก็บอุปกรณ์จับปลาและเครื่องมือมำนา   บ้านเรือนของชาวอยุธยามี   ลักษณะคือ
๑.เรือนชั่วคราวหรือเรือนเครื่องผูก  เป็นเรือนของชาวบ้านโดยทั่วไปสร้างด้วยไม้ไผ่หรือใบจากซึ่งเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นและสามารถรวบรวมกำลังคนในครอบครัวหรือเพื่อนบ้านปลูกเรือนได้ไม่ยาก
๒.เรือนถาวรหรือเรือนเครื่องสับ  เป็นเรือนของผู้มีฐานะ เช่น ขุนนางหรือเจ้านาย ซึ่งเป็นเรือนที่สร้างอย่างประณีตด้วยไม้เนื้อแข็งหนาแน่นและทนทานไม้เหล่านี้ได้จากป่าในหัวเมืองเหนือที่ใช้วิธีล่องลงมาตามลำน้ำเจ้าพระยา
นอกจากเรือนยกพื้นสูงแล้วชาวอยุธยายังอาศัยอยู่ในเรือนอีกประเภทหนึ่งที่ไม่มีเสา พื้นเรือนติดน้ำแต่ลอยได้ คือเรือนแพที่สะดวกสำหรับการ เคลื่อนย้าย เรือนแพนี้ยังทำหน้าที่เป็นร้านค้าด้วยดังนั้นที่กรุงศรีอยุธยาจึงมีเรือนแพตั้งเรียงรายอยตามแม่น้ำ ลำคลอง ชาวอยุธยานอกจากจะปรับตนให้เข้ากับภูมิประเทศที่ประกอบด้วยแม่น้ำลำคลองแล้วยังใช้ภูมิปัญญาดัดแปลงแม่น้ำลำคลอง เพื่อใช้ป้องกันข้าศึกได้ด้วยตัวอย่างเช่น ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเกิดสงครามระหว่างไทยกับพม่า จึงมีการเตรียมการโดยขยายขุดลอกคลองคูขื่อหน้าเพื่อให้อยู่ในสภาพที่รับศึกได้หรือการที่มหานาควัดทท่าทราย ระดมชาวบ้านขุดคลองมหานาคเป็นคูป้องกันพระนครชั้นนอกอีกชั้นหนึ่งเมื่อ พ.ศ.๒๐๘๖ เพื่อป้องกันศึกพม่า   นอกจากที่กล่าวมาแล้ว สภาพภูมิประเทศที่เป็นมาน้ำลำคลองจำนวนมาก ทำให้ชาวอยุธยามีวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการใช้เรือในการ คมนาคมเรือสำหรับชาวบ้านเป็นเรือที่ต่ออย่างง่ายๆ เช่นเรือขุดและเรือแจว  แต่คนในสมัยอยุธยามีภูมิปัญญาในการขุดเรือยาว  ที่พระมหากษัตริย์อยุธยาใช้เป็นเรือรบในการขนกำลังคนไปได้เป็นจำนวนมากพระมหากษัตริย์เสด็จพยุหยาตราเพื่อเสด็จไปทำสงครามและไดพัฒนาเป็นกองทัพเรือ ในเวลาที่บ้านเมืองเป็นปกติพระมหากษัตริย์ทรงใช้เรือเหล่านี้เสด็จพระราชดำเนินในพิธีต่างๆ เช่นพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน โดยจัดขบวนเรือรบซึ่งเท่ากับเป็นการซ้อมรบโดยปริยาย
ภูมิปัญญาด้านการประกอบอาชีพ
อยุธยาเป็นอาณาจักรที่มีความรุ่งเรือง เศรษฐกิจของอยุธยามีทั้งที่ทำการเกษตรและการค้าภายใน ต่อมาจึงพัฒนาเศรษฐกิจเป็นการค้ากับนานาชาติ ภูมิปัญญาในด้านเกษตรกรรมเกิดจากความเหมาะสม ทางสภาพภูมิศาสตร์และความรู้ที่สะสมมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษทำให้อยุธยาเป็นแหล่งเพาะปลูก โดยเฉพาะการปลูกข้าวซึ่งการปลูกข้าวถือเป็นภูมิปัญญาที่สำคัญของคนอยุธยาที่รู้จักคัดเลือก พันธุ์ข้าวให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศที่น้ำท่วมถึง คือข้าวพันธุ์วิเศนอกจกานี้ชาวอยุธยารู้จักปลูกต้นไม้ผลไม้ในบริเวณที่เป็นคันดินธรรมชาติ (Natural Levee)ที่ขนานไปกับแม่น้ำลำคลอง ผลไม้เหล่านี้ได้รับปุ๋ยธรรมชาติทำให้มีรสชาติอร่อย ชาวสวนผลไม้อยุธยา ได้ปรับปรุงพันธุ์ผลไม้จนทำให้ผลไม้ที่มีชื่อเสียง ในปัจจุบันด้วยภูมิปัญญา ดังนี้อยุธยาจึงมีปริมาณอาหาร พอเพียงกับความต้องการ ของพลเมือง ทำให้สามารถพึ่งตนเองได้เพราะอาหารหลัก คือ ข้าวสามารถปลูกเองได้ สำหรับพืชผักและกุ้ง หอย ปู ปลา หาได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไป
             สภาพภูมิประเทศของอยุธยามีคูคลองเป็นจำนวนมาก ชาวอยุธยาใช้ประโยชน์จากคูคลองที่ปรียบเสมือนเป็นถนนให้เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญในสมัยอยุธยาตอนต้นได้มีการคมนาคมการขุดคลองลัดเพื่อย่นระยะทางจากปากแม่น้ำ เช่น คลองลัดบางกอกใหญ่ เพื่อความสะดวกในการคมนาคมขนส่งตั้งแต่ยุคกลาง เป็นต้นมา อยุธยาส่งข้าวเป็นสินค้าหลักไปขายยังต่างแดนเช่น ที่เมืองจีน นอกจากนี้ความเหมาะสมของที่ตั้งอยุธยาไม่ห่างจากทะเลมากนักและมีสินค้าหลากหลายชนิด ทำให้พ่อค้าต่างชาติเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายกับอยุธยาทำให้อยุธยากลายเป็นเมืองท่านานาชาติโดยเฉพาะในพุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๓ พระมหากษัตริย์อยุธยาโปรดคัดสรรชาวต่างชาติให้เข้ารับราชการ โดยเฉพาะหน่วยงานทางทหารและการค้าในด้านการค้าชาวต่างชาติ เหล่านี้มีความชำนาญทั้งด้านการค้าและการเดินเรือ มีความรู้ด้านภาษาและเข้าใจวัฒนธรรมของชาติที่อยุธยาติดต่อค้าขายด้วยการรับชาวต่างชาติเข้ารับราชการ แสดงถึงภูมิปัญญาของชาวอยุธยาที่รู้จักเลือก ใช้คนที่มีความชำนาญให้เป็นผู้รับผิดชอบงานต่างๆอยุธยาจึงสามารถขนส่งสินค้าบรรทุกสำเภาไปขายยังเมืองท่าดินแดนต่างๆได้โดยสะดวก
                  สำเภาอยุธยายังแสดงให้เห็นภูมิปัญญาไทย กล่าวคือพระมหากษัตริย์โปรดให้ต่อสำเภาโดยช่างชาวจีน เป็นเรือสำเภาประเภท ๒ เสา คล้ายกับสำเภาจีนซึ่งแล่นอยู่ตามทะเลจีนใต้ ใบเรือทั้งสองทำด้วยไม้ไผ่สานซึ่งหาได้ง่ายและมีน้ำหนักเบา ส่วนใบเรือด้านบนสุดและด้านหัวเรือใช้ผ้าฝ้ายซึ่งเป็นวัดุที่ชาวอยุธยาทอใช้ในครัวเรือนแต่วิธีการเป็นวิธีแบบชาวตะวันตกที่ช่วยให้สำเภาเร็วขึ้นสำหรับหางเสือของสำเภาเป็นไม้เนื้อแข็งคล้ายกับสำเภาจีน (ชนิดที่เดินทางไกล) แต่ทว่าหางเสือของสำเภาอยุธยาได้เจาะรูขนาดใหญ่ไว้ ๓ รู แล้วสอดเหล็กกล้า ยึดติดกับลำเรือทำให้บังคับเรือได้ดีและมีความคงทนนอกจากนี้บริเวณกาบเรือใช้น้ำมันทาไม้และใช้ยางไม้หรือสีทา ในส่วนของเรือที่จมน้ำโดยผสมปูนขาวเพื่อป้องกันเนื้อไม้และตัวเพลี้ยเกาะซึ่งทำให้เรือผุ สำเภาอยุธยานับเป็นภูมิปัญญาของคนอยุธยาที่ใช้เทคโนโลยีผสมกันระหว่างสำเภาจีนกับเรือแกลิออทของ ฮอลันดาเพื่อให้เรือวิ่งได้เร็วและทนทาน ภูมิปัญญาของชาวอยุธยาในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการค้าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจ ของอยุธยามั่งคั่งรุ่งเรือง
ภูมิปัญญาด้านศาสนาและความเชื่อ
พระพุทธศาสนาและศาสนาฮินดูมีบทบาทต่อการวางรากฐานระบบการเมืองบ้านเมืองเป็นปึกแผ่นคติความเชื่อนี้ได้หล่อหลอมสังคมอยุธยาให้เป็น อันหนึ่งอันเดียวกันดังอธิบายเพิ่มเติมดังนี้
                พระพุทธศาสนาได้หยั่งรากลึกอยู่ในสังคมอยุธยา ผู้มีความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาย่อมเชื่อว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ทำให้พ้นทุกข์เนื่องจากมนุษย์ต้องเวียนว่าย ตายเกิดอันเกิดจากกฎ แห่งกรรมและเรื่องนรก สวรรค์ นอกจากนี้ยังเชื่อในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่ว่าทุกสิ่งคืออนิจจังภูมิปัญญาจากความเชื่อนี้ทำให้ชาวอยุธยาสามารถ เผชิญกับปัญหาความทุกข์ยากต่างๆในชีวิตได้ด้วยความอดทนนอกจากนี้การที่สังคมอยุธยาเป็นสังคมนานาชาติที่มีคนต่างชาติต่างศาสนาเข้ามาตั้งถิ่นฐาน โดยพระมหากษัตริย์อยุธยาทรงอนุญาตให้ปฏิบัติพิธีกรรมและเผยแผ่ศาสนาได้โดยเสรี ความเป็นสังคมนานาชาติเกิดจากความเข้าใจและเห็นคุณค่าขันติธรรมในเรื่องศาสนาภูมิปัญญาด้านศาสนาทำให้คนอยุธยามหลักในการดำเนิน   ชีวิตเพื่อความสุขขิงตนเองและการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคม

                ภูมิปัญญาในสมัยอยุธยาสามารถประยุกต์ใช้ในสังคมปัจจุบัน คือ การรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมการนำเทคโนโลยีบางอย่างที่เหมาะสมมาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพและความอดทนเข้าใจผู้อื่นที่มีเชื้อชาติ ศาสนาหรือมีความคิดแตกต่างกับตนเอง โดยมุ่งทำให้สังคมมีความสงบสุข
                [เสริม]
                ภูมิปัญญาด้านศิลปกรรม
              การสถาปนาอาณาจักรอยุธยาใน พ.ศ.๑๘๙๓ นับเป็นการเริ่มต้นศิลปวัฒนธรรมไทยในสมัยอยุธยาซึ่งมีรากฐานมาจากสถาบันพระมหากษัตริย์และสถาบันศาสนา ไม่ว่าจะเป็นทางด้านศิลปกรรม วรรณกรรมประเพณี รวมทั้งพระพุทธศาสนา ซึ่งคนไทยศรัทธาและยึดมั่นเป็นสรณะมาโดยตลอดศิลปวัฒนธรรมไทยในสมัยอยุธยาเกิดจากการผสมผสานระหว่างศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมของคนไทย และ ศิลปวัฒนธรรมที่รับมาจากภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปวัฒธรรมจากอินเดียที่อยุธยารับมาจากเขมรและจากอินเดียโดยตรง

นอกจากนี้ อยุธยายังรับศิลปวัฒนธรรมไทยจากสุโขทัยเข้ามาผสมเข้ากับวัฒนธรรมของอยุธยา จนกลายเป็นศิลปวัฒนธรรมของอยุธยาในที่สุด และในระยะต่อมาได้กลายเป็นรากฐานของศิลปวัฒนธรรมไทยในสมัยต่างๆจนถึงปัจจุบัน อยุธยาได้รับวัฒนธรรมจากสุโขทัยมาผสมผสานเข้าด้วยกันจนกลายเป็นศิลปวัฒนธรรมของอยุธยา ซึ่งมีทั้งทางด้านศิลปกรรม อันประกอบด้วย สถาปัตยกรรม ประติมากรรมจิตรกรรม ประณีตศิลป์ และ ศิลปการแสดง นอกจากนี้มีด้านวรรณกรรม ด้านประเพณี และ ด้านพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรมสมัยอยุธยาทั้งในตอนต้นและตอนปลาย ล้วนแต่เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์และสถาบันพระพุทธศาสนาแทบทั้งสิ้น หรือที่กล่าวอย่าสั้นๆคือ จาก วัง” กับ วัดศิลปกรรมต่างๆ จะมีส่วนเกี่ยวข้องทั้งวังและวัดเป็นส่วนใหญ่ ศิลปะการแสดงมาจากวังเป็นส่วนใหญ่และส่วนหนึ่งเป็นของชาวบ้าน วรรณกรรมส่วนใหญ่ได้สะท้อนเรื่องราวในราชสํ านัก และสะท้อนให้เห็นถึงหลักคํ าสอนของพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรมเหล่านี้ได้รับการสืบทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมาจนถึงสมัยรัชรัตนโกสิน
ประณีตศิลป์
ศิลปวัฒนธรรมสมัยอยุธยา
ลักษณะของศิลปวัฒนธรรมในสมัยอยุธยา แบ่งได้หลายประเภท โดยสรุปลักษณะที่สำคัญแต่ละประเภท ดังนี้
1. ศิลปกรรมสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม ประณีตศิลป์
2. วรรณกรรม
3. ประเพณี
4. พระพุทธศาสนา
              ประณีตศิลป์
งานประณีตศิลป์สมัยอยุธยาถือได้ว่ามีความเจริญถึงขีดสุดเหนือกว่าศิลปะแบบอื่นๆ งานประณีตศิลป์ที่เกิดขึ้นมีหลายประเภท เช่น
เครื่องไม้จำหลัก
ได้แก่ ตู้พระธรรม ธรรมาสน์ พระพุทธรูป บานประตู หน้าต่าง หน้าบันพระอุโบสถ ตู้เก็บหนังสือ
ลายรดน้ำ คือการนำทองมาปิดลงบนรักสีดำบนพื้นที่เขียนภาพหรือลวดลายแล้วรดน้ำล้างออก นิยมใช้ในบานประตูโบสถ์วิหาร ตู้พระธรรม ตู้ใส่หนังสือ เป็นต้น
การประดับมุก
ได้มาจากจีน แต่ได้ปรับให้เป็นลวดลายอย่างไทย พบในบานประตูที่วิหารพระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก เป็นต้น
เครื่องเบญจรงค์ เป็นการออกแบบลวดลายบนเครื่องเคลือบถ้วยชามด้วยสี สี คือ สีแดง สีเขียว สีเหลือง สีขาว สีดำ และสีน้ำเงิน ลวดลายที่ใช้มักเป็นลายก้นขด หรือลายก้านแย่ง หรือใช้รูปตกแต่ง เช่น เทพนมสิงห์ ลายกนก กินรี กินนร นรสิงห์ เป็นต้น
เครื่องทองประดับ
มีทั้งเครื่องทองรูปพรรณ เครื่องราชูปโภคของพระมหากษัตริย์ เครื่องทองประดับอัญมณี ทองกร เป็นต้น
ลายปูนปั้น คือลวดลายที่ปั้นด้วยปูนเพื่อประดับตกแต่งตามส่วนต่างๆ ของหน้าบันประตู เจดีย์ และปรางค์ ได้รับอิทธิพลทั้งจากขอมและตะวันตก เช่น ที่วัดมหาธาตุ วัดราษฎร์บูรณะ วัดตะเว็ต วัดพระราม วัดภูเขาทอง เป็นต้น
ลักษณะสังคมสมัยอยุธยา
- - - ชนชั้นทางสังคม - - -
สามารถแบ่งตามยุคของแต่ละสมัยได้ดังนี้
สังคมในสมัยอยุธยาประกอบด้วย พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง ข้าราชการ ไพร่ ทาส และพระสงฆ์ โดยมีอำนาจและหน้าที่ที่แตกต่างกันไป แบ่งได้เป็น ชนชั้นใหญ่ๆ คือ
1. ชนชั้นปกครอง
2. ชนชั้นใต้การปกครอง
- - -การศึกษา - - -
สามารถแบ่งได้ดังนี้
              ในสมัยอยุธยา การศึกษาถูกจำกัดอยู่ในวงจำกัด ไม่ได้มีมากเหมือนในปัจจุบัน เป็นการศึกษาแบบไม่บังคับผู้สอนมักสงวนวิชาไว้แค่ในวงศ์ตระกูลของตนหรือคนเพียงวงแคบ ส่วนใหญ่จะจัดกันในสถานที่เหล่านี้ ได้แก่
1) วัด จะให้การศึกษากับบุตรหลานในเรื่องจริยธรรม พฤติกรรม หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ขนบธรรมเนียม การอ่านและเขียนภาษาไทย การคำนวณ รวมไปถึงวิชาการพื้นฐานอื่นๆ เช่น วิชาเวทมนตร์คาถาอยู่ยงคงกระพัน หรือวิชาช่าง ทั้งช่างฝีมือและศิลปกรรมผู้ที่เรียนต้องบวชเรียนเป็นภิกษุหรือสามเณรเสียก่อน ส่วนใหญ่ผู้ที่เรียนจะเป็นบุตรหลานในครอบครัวของคนสามัญชน
              2) บ้าน ส่วนใหญ่จะให้การศึกษาในวิชาชีพที่ครอบครัวมีอยู่ สำหรับเด็กชายจะเป็นงานที่เป็นอาชีพในบ้านอยู่แล้ว เช่น งานตีเหล็ก งานปั้น งานแกะสลัก งานช่าง หรือการรับราชการ เพื่อจะได้สืบทอดงานต่อไป ส่วนเด็กผู้หญิงก็จะเป็นงานบ้านงานเรือน เช่น การทำอาหาร เย็บปักถักร้อย เพื่อเป็นแม่บ้านต่อไป
3) วัง เป็นสถานศึกษาสำหรับคนชั้นสูง ผู้ที่เรียนมักเป็นเชื้อพระวงศ์ เจ้านายในพระราชวังเท่านั้น จะให้การศึกษาในเรื่องการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และศิลปวัฒนธรรม เพื่อไปใช้ในการปกครองในเวลาต่อไป ผู้สอนก็เป็นปราชญ์ทั้งหลายที่ประจำอยู่ในพระราชวัง ซึ่งมีความรู้อย่างมาก วังนับเป็นสถานศึกษาที่สำคัญที่สุด เพราะมีนักปราชญ์ราชบัณฑิตอยู่มากมาย
หลังจากที่มีชาวตะวันตกเข้ามาติดต่อกับไทย ก็ได้นำหมอสอนศาสนาหรือมิชชันนารีมาด้วย นอกจากจะเผยแผ่ศาสนาคริสต์ของชาวตะวันตกนั้นแล้ว ก็ได้ให้การศึกษากับชาวไทย โดยจัดตั้งโรงเรียนเพื่อให้วิชาการ วิทยาการต่างๆ แก่เด็กไทยได้มีความรู้ทัดเทียมกัน หรือบางครั้งก็มีการส่งนักเรียนไทยไปเรียนยังต่างประเทศ เพื่อนำความรู้กลับมาพัฒนาบ้านเมืองต่อไป
ลักษณะสังคมสมัยอยุธยา
- - - กระบวนการยุติธรรม - - -
สามารถแบ่งได้ดังนี้
กฎหมายในสมัยอยุธยาที่ตราขึ้นมานั้นมีลักษณะเหมือนในปัจจุบัน เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่เป็นหลักฐานชัดเจนตราขึ้นมาเพื่อใช้บังคับคน
ในสังคมทุกคนให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบเรียบร้อย
กฎหมายที่ตราขึ้นอาจแยกเป็นดังนี้
คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ เป็นกฎหมายแม่บทที่ใช้เป็นหลักสำหรับใช้พิจารณาคดีความ และตรากฎหมายย่อยขึ้นมารองรับ ไทยได้นำแบบอย่างมาจากกฎหมายของมอญ ซึ่งมอญก็นำมาจากอินเดียมา
พระราชศาสตร์ เป็นกฎหมายย่อยที่ตราขึ้นมาใช้ โดยตราเป็นพระราชกำหนด พระราชบัญญัติ หรือบทพระอัยการ โดยอาศัยคัมภีร์พระราชศาสตร์เป็นหลัก และคำนึงถึงความเหมาะสมของเหตุการณ์บ้านเมืองในขณะนั้น
กฎหมายสำคัญๆ ที่มีการตราขึ้นใช้ เช่นกฎหมายลักษณะพยาน กฎหมายลักษณะอาญา กฎหมายลักษณะรับฟ้อง กฎหมายลักษณะโจร กฎหมายลักษณะลักพา กฎหมายลักษณะผัวเมีย กฎหมายพิสูจน์การดำน้ำลุยเพลิง กฎหมายลักษณะมรดก เป็นต้น
ศาล
หลังจากที่มีกฏหมายมาบังคับใช้แล้วหากผู้ไม่ปฏิบัติตามก็จะต้องถูกลงโทษ
ตามความผิดที่กระทำลงไป และมีศาลเป็นสถานที่ตัดสินคดีความต่างๆ ให้ลุล่วงไป ศาลถูกจัดให้สอดคล้องกับการปกครองแบบจตุสดมภ์ ทำให้มี ศาล คือ ศาลกรมวัง ศาลกรมเมือง ศาลกรมนา และศาลกรมคลัง ซึ่งจะพิจารณาคดีเฉพาะที่เกี่ยวกับหน้าที่การทำงานของแต่ละกรมเท่านั้น
หลังจากที่มีการฟ้องร้องเกิดขึ้นแล้ว ลูกขุน ณ ศาลหลวง จะเป็นผู้ตัดสินว่าคดีดังกล่าวสมควรจะรับฟ้องหรือไม่ ถ้ารับฟ้องก็จะส่งเรื่องไปให้ศาลกรมที่เกี่ยวข้องกับคดีนั้น ในการพิจารณาคดี มีการแบ่งให้บุคคล คณะ คือ ตุลาการ จะเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนจำเลยและโจทก์ ถ้าพยานหรือหลักฐานไม่เพียงพอก็เรียกพยานหรือหลักฐานเพิ่มเติมได้ ซึ่งบางครั้งถ้าจำเลยหาหลักฐานมาแก้ต่างให้กับตนไม่ได้แต่ไม่ยอมรับสารภาพ ก็จะมีการพิสูจน์โดยการดำน้ำลุยไฟ ถ้าผ่านไปได้ก็จะถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ทันที เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วก็จะเสนอยังคณะลูกขุนให้ทำการตัดสินว่าฝ่ายใดเป็นผู้แพ้หรือชนะคดี พร้อมด้วยเหตุผลประกอบ ซึ่งหากไม่พอใจในการตัดสินก็สามารถอุทธรณ์ต่อไปได้
             แบ่งออกเป็น ราชวงศ์ดังต่อไปนี้
1.- - ราชวงศ์อู่ทอง - -
2.- - ราชวงศ์สุพรรณภูมิ - -
3.- - ราชวงศ์สุโขทัย - -
4.- - ราชวงศ์ปราสาททอง - -
5.- - ราชวงศ์บ้านพลูหลวง - -

ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมสมัยธนบุรี
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยธนบุรี

กรุงธนบุรีมีอายุเพียง  15  ปีแต่ก็ได้สร้างสรรค์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่มีคุณค่าอันสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน  โดยเกิดจากปัจจัยสำคัญ  คือ
1.        การรับอิทธิพลด้านภูมิปัญญาและวัฒนธรรมสืบทอดมาจากอยุธยา  เช่น  ด้านศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ
2.        การรับอิทธิพลจากอารยธรรมตะวันตก  มีผลต่อภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยธนบุรี
น้อยมาก  ถึงแม้จะมีการเผยแผ่คริสต์ศาสนา  แต่สิ่งที่สำคัญมากคือ  ความต้องการอาวุธปืนที่ใช้ในการป้องกันประเทศ  ดังปรากฏหลักฐานที่บริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา  ได้ถวายปืน  50  กระบอก    เพื่อแลกกับไม้ฝางของไทย
ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยในการพิจารณาทำเลที่ตั้งของราชธานี
อยู่ริมแม่น้ำและอยู่ใกล้ทะเล  การที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเลือกชัยภูมิให้เมืองธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่ของไทยเพื่อป้องกันมิให้พม่าโจมตีได้  เพราะแถบนี้น้ำลึก  ถ้าข้าศึกยกทัพมาทางบกไม่มีทัพเรือเป็นกำลังด้วยแล้วยากที่จะเข้ามาตีกรุงธนบุรีได้ ประกอบกับธนบุรีมีป้อมปราการมาตั้งแต่สมัยอยุธยา  เป็นเมืองขนาดย่อม  ทัพบกและทัพเรือของธนบุรี
ย่อมสามารถรักษาราชธานีไว้ได้  แต่ถ้ารักษาไม่ได้  ก็สามารถยกทัพกลับไปตั้งมั่นอยู่ที่เมืองจันทบุรีดังเดิม  นอกจากนี้การที่กรุงธนบุรีตั้งปิดปากน้ำย่อมป้องกันมิให้หัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งปวงที่ไม่ได้อยู่ใต้อำนาจของธนบุรีสามารถไปมาค้าขายหรือแสวงหาอาวุธจากต่างประเทศได้ยากขึ้น  ขณะที่ทางธนบุรี
ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยในการปรับตัวเพื่อแก้ปัญหาการดำรงชีวิต
สมัยธนบุรีได้ประสบกับภาวะสงครามและการขาดแคลนข้าว    ทำให้เป็นปัญหาของสังคมไทยในขณะนั้น  จึงมีภูมิปัญญาเกี่ยวกับการแก้ปัญหาการดำรงชีวิต  เช่น
1.       สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงแก้ปัญหาด้วยการโปรดให้ผู้คนที่อดอยาก
เข้ามารับพระราชทานข้าวปลาอาหาร  ขณะนั้นข้าวสารที่พ่อค้าสำเภาจีนนำมาขายมีราคาแพงมาก  แต่พระองค์ก็ซื้อข้าวสารแจกจ่ายราษฎรข้าวมาขายเพื่อหวังผลกำไรเป็นจำนวนมาก  เมื่อข้าวสารในท้องตลาดมีมากจึงส่งผลให้มีข้าวสารมีราคาถูกลง
1.        พระองค์ทรงให้บรรดาข้าราชการทั้งผู้ใหญ่และผู้น้อยหันไปทำนาเพิ่มปีละ  2  ครั้ง  ทั้งนาปี
และนาปรัง  ทำให้มีข้าวบริโภคมากขึ้น  ครั้นเมื่อเกิดหนูชุกชุมกัดกินข้าวในยุ้งฉางและทรัพย์สินของราษฎรเสียหายก็ทรงรับสั่งให้จับหนูมาส่งกรมนครบาล  ทำให้จำนวนหนูลดลง ภูมิปัญญานี้ส่งผลถึงปัจจุบันทำให้ประเทศไทยติดอันดับในการส่งออกข้าวไปขายยังต่างประเทศ
1.        ให้ขุดคูเมืองทั้งสองฟากซึ่งเดิมเป็นสวนปลูกผักผลไม้ให้ขุดออกเป็นที่ท้องนา  เรียกว่า
ทะเลตม  เพื่อไว้ทำนาใกล้พระนคร  สำหรับเป็นเสบียงในยามขาดแคลนข้าว   แต่เมื่อข้าศึกยกมาก็สามารถทำเป็นที่ตั้งค่ายไว้ต่อสู่กับข้าศึกได้
สะดวกต่อการค้าขายทางทะเลกับต่างประเทศ และสามารถแสวงหาอาวุธได้ง่ายเพราะอยู่ติดทะเล
ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยด้านศิลปกรรม

            เนื่องจากสมัยธนบุรีเป็นราชธานีในระยะเวลาสั้น ๆ  และต้องตกอยู่ในภาวะสงครามตลอดเวลา
ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมด้านศิลปกรรมจึงมีอยู่บ้าง  เช่น
เรือ  การต่อเรือเจริญมากเพราะมีการต่อเรือรบ เรือสำเภา ตลอดจนเรือกระบวนไว้ใช้ในราชการเป็นจำนวนมาก
สถาปัตยกรรม  กรุงธนบุรีเป็นยุคของการสร้างบ้านแปลงเมือง  จึงมีการก่อสร้างเป็นจำนวนมาก  อาทิ  พระราชวัง ป้อมปราการ กำแพงพระนคร พระอารามต่าง ๆ  ลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยนี้ล้วนสืบทอดมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย  ฐานอาคารจะมีลักษณะอ่อนโค้งดุจรูปเรือสำเภา  ทรงอาคารจะสอบชะลูดขึ้นทางเบื้องบน  ส่วนประกอบอื่น ๆ ของอาคารก็ไม่แตกต่างจากอยุธยามากนัก  เป็นที่น่าเสียดายว่าสถาปัตยกรรมสมัยธนบุรีมักได้รับการบรูณะซ่อมแซมในสมัยหลังหลายครั้งด้วยกัน  ลักษณะในปัจจุบัน
จึงเป็นแบบสถาปัตยกรรมในรัชกาลที่บูรณะครั้งหลังสุด  เท่าที่ยังปรากฏเค้าเดิมในปัจจุบัน ได้แก่
ป้อมวิชัยประสิทธิ์ กำแพงพระราชวังเดิม พระตำหนักท้องพระโรง และพระตำหนักเก๋งคู่ในพระราชวังเดิมที่ได้รับอิทธิพลการก่อสร้างมาจากจีน  พระอารามทั้งในพระนครและหัวเมืองที่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์
ในรัชกาลนี้ล้วนแต่ได้รับการบรูณะใหม่ในรัชกาลต่อมาเช่นกัน  ที่ยังแสดงลักษณะศิลปกรรมสมัยกรุงธนบุรี  ได้แก่  พระอุโบสถและพระวิหารน้อย วัดอรุณราชวราราม  พระอุโบสถและพระวิหารเดิมวัดราชคฤห์
พระอุโบสถเดิมวัดอินทาราม  ตำหนักแดง วัดระฆังโฆสิตาราม  และพระอุโบสถวัดหงส์รัตนาราม
ประณีตศิลป  กรุงธนบุรีมีนายช่างผู้เชี่ยวชาญด้านนี้อย่างพร้อมมูล ทั้งช่างรัก ช่างประดับ
ช่างแกะสลัก ช่างปั้นและช่างเขียน  งานประณีตศิลป์ชิ้นสำคัญสมัยนี้ ได้แก่ ตู้พระไตรปิฎกลายรดน้ำ ตู้
ในหอวชิรญาณ  ซึ่งได้มาจากวัดราชบูรณะ วัดจันทาราม และวัดระฆังโฆสิตาราม  ช่างหล่อคนสำคัญปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า  โปรดให้หลวงวิจิตรนฤมล  ปั้นพระพุทธรูปให้ต้องตามพุทธลักษณะที่โปรดให้สอบสวน  แล้วหล่อพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ยืนองค์หนึ่งปางสมาธิองค์หนึ่ง  งานแกะสลัก  ได้แก่พระแท่นบรรทมในพระอุโบสถน้อย วัดอรุณราชวราราม  ในพระวิหารวัดอินทาราม  และตั่งจากอำเภอแกลง
จังหวัดระยอง  ซึ่งเก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงเทพฯ
จิตรกรรม  ภาพจิตรกรรมสมัยธนบุรีอาจดูได้จาก ตำราภาพไตรภูมิ (ฉบับหลวง)  มีการวาดภาพเกี่ยวกับไตรภูมิหรือโลกทั้งสาม  เพื่อปลูกฝังให้คนไทยเกิดความเชื่อในเรื่องบาปบุญคุณโทษ  ประพฤติกรรมดี ละเว้นความชั่ว  ซึ่งเก็บรักษาอยู่ ณ หอสมุดแห่งชาติ  และลวดลายรดน้ำที่ปรากฏบนตู้พระไตรปิฎกและภาพจิตรกรรมสมัยรัชกาลที่ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วรรณกรรม
วรรณกรรมสำคัญที่เกิดในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี มีดังนี้
1. บทละครเรื่องรามเกียรติ์  พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี
2. ลิลิตเพชรมงกุฎ  ประพันธ์โดยหลวงสรวิชิต (หน)
3. อิเหนาคำฉันท์  ประพันธ์โดยหลวงสรวิชิต (หน)
4. กฤษณาสอนน้องคำฉันท์  ประพันธ์โดยพระยาราชสุภาวดี  และพระภิกษุอินท์
5. โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี  ประพันธ์โดย  นายสวนมหาดเล็ก
6. นิราศกวางตุ้ง หรือนิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีนครั้งกรุงธนบุรี พ.ศ. 2324  บทประพันธ์ของ
พระยามหานุภาพ  เป็นวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้
นาฏดุริยางค์และการละเล่น  แม้ว่าศิลปกรรมเหล่านี้จะได้รับความกระทบกระเทือนจากภัยสงคราม  โดยถูกพม่ากวาดต้อนไปบ้าง แต่ก็ยังไม่สูญหายไปเสียทีเดียว  ยังคงหลงเหลืออยู่ตามหัวเมืองสำคัญ เช่น เมืองนครศรีธรรมราช  และหลบซ่อนตัวตามเมืองอื่นบ้าง นอกจากในพระราชสำนักแล้ว  สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี  ได้พระราชทานโอกาสให้บุคคลทั่วไปมีครูฝึกสอนละครนาฏศิลป์ และจัดแสดงได้โดยไม่จำกัด   ทั้งนี้เพื่อบำรุงขวัญประชาชนซึ่งเพิ่งรวบรวมตัวกันเป็นปึกแผ่นใหม่ ๆ  นาฏศิลป์และการละเล่นสมัยกรุงธนบุรีที่ปรากฏหลักฐานในจดหมายเหตุ  สมโภชพระแก้วมรกต พ.ศ. 2323  คือ โขน หนัง หุ่น ละคร รำ (รำหญิง,รามัญรำ,ชวารำ,ญวนรำถือโคมดอกบัว) มโหรี ปี่พาทย์ ระเม็งโมงครุ่ม ญวนหกและคนต่อเท้า โจนหกร้านหอก หกไม้ลำเดียว หกไม้สูง ต่อ ไต่ลวดลังกาไม้ลวดต่ำ คุลาเล็ก มังกรตรีวิสัย(แทงวิสัย) โตกระบือหรือโตกระบือจีนเงาะ มวย คู่ปล้ำ เสลหรือดาบดั้ง คู่ง้าว คู่ทวน คู่หอก คู่กฤช ชนช้าง แข่งม้า ทวนหลังม้า กระบี่หลังม้าและม้าคลุมม้าคลี  และยังโปรดให้เจ้านครศรีธรรมราชจัดละครมาร่วมงานเป็นการประกวดประชันกับของหลวงด้วย